สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม

พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วย “ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร
วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ที่ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานครนายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และนายชัยยศ สัมฤทธิ์กุล กรรมการ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วย “ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด  ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวถึงการสนับสนุนงานวิจัยด้านการพัฒนาพันธุ์พืชผัก และความเป็นมาของ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชานุมัติให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา โดยศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธุ์เพ็ญศิริ ร่วมกับบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ดำเนินการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ จำนวน 19 ชนิด ที่ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชในนามของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปปลูกต่อได้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรในระบบอินทรีย์อย่างมาก ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้จัดตั้ง บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เพื่อผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์อินทรีย์เท่านั้น รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องด้านเกษตรอินทรีย์เมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ทั้ง 19 ชนิด ได้แก่ ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์ เบอร์ 1, ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ เบอร์ 1, มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์, พริกขี้หนูปู่เมธ, แตงไทยหอมละมุน, สลัดช่อผกาพัฒนาเอง, พริกพัฒนฉันท์, สลัดสวยงาม, ถั่วฝักยาวเสือเขียว, ถั่วฝักยาวเสือลายพาดกลอน, ถั่วฝักยาวเสือดุ, ถั่วฝักยาวเสือขาว, ถั่วพูของชอบ, สลัดของขวัญ, สลัดขายดี, สลัดรสดี และสลัดคนดีผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ Facebook: ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / ไลน์ไอดี: @firstorganicseeds (ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์) / E-Mail: 09farm.mju@gmail.com หรือโทร 091 070 5757ราคาซองละ 20 บาทโปรโมชั่นพิเศษ ตั้งแต่วันนี้จนถึงเดือนธันวาคม 2567 “ซื้อ 5 ซอง แถม 1 ซอง” (สินค้ามีจำนวนจำกัดหรือจนกว่าสินค้าจะหมด)ทั้งนี้ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ มอบสมทบมูลนิธิชัยพัฒนาข่าว : มูลนิธิชัยพัฒนา
25 ตุลาคม 2567
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมอบนโยบาย ทิศทางการพัฒนา และแนวทางแผนบริหารมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแมโจ้-ชุมพร ปีงบประมาณ พ.ศ.2567-2571 แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมอาคารแม่โจ้ 80 ปี รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี พบปะบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2567 พร้อมกับแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนรองอธิการบดี กำกับดูแล กำกับการบริหารงาน สั่งและปฎิบัติการแทนอธิการบดี ตามกรอบภาระงาน กำกับดูแลมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (ตามคำสั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ 1361/2567)ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้นำเสนอนโยบายและแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัย (พ.ศ.2567-2571) แลกเปลี่ยนและรับฟังปัญหาการปฎิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยเน้นย้ำให้บุคลากรมองเป้าหมายเดียวกัน บูรณาการองค์ความรู้แต่ละสาขาวิชา สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และร่วมกันผลักดันให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มุ่งปฎิบัติงานตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้คือ การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการเกษตรสุขภาวะระดับนานาชาติต่อไปพร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พบปะบุคลากร พร้อมเสนอแนวคิดการปฎิบัติงาน กล่าวคือ ให้บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอก เพื่อดึงศักยภาพของแต่ละบุคคล ใช้กลยุทธิ์ในการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษา ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม ใส่ใจโครงสร้างพื้นฐานของทั้งบุคลากรและนักศึกษา ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการประชาสัมพันธ์ อันจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในการผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วย “วิชาการ-วิชาชีพ-วิชาชีวิต”อย่างไรก็ดี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ได้พบปะและให้กำลังใจบุคลากรในการขับเคลื่อนและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร คือ “มีทัศนคติที่ดีในการปฎิบัติงาน ร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในองค์กร ตลอดจนมองเป้าหมายข้างหน้าไปด้วยกัน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป”
22 ตุลาคม 2567
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่5/2567 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา
วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2567  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ณ เกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับการจัดอันดับเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอันดับ 4 ของประเทศ และอันดับ 361 ของโลก จากการจัดอันดับพิพิธภัณฑ์โลก (Museum World Ranking)  พร้อมรับชมชุดการแสดง 2 ชุด โดยนิสิตสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์  ในชุดการแสดง  "มวยไทย เมืองลุง"  และชุดการแสดง "กริช ลุ่มเลสาบสงขลา"วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่5/2567 (ทปอ.) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันพิจารณาปัญหาในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตามโครงสร้างของ ทปอ. อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่เป็นสมาชิก ทปอ.  ณ หอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก  ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย/อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดการประชุมฯ และดำเนินการประชุมตามวาระการประชุมฯ  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวต้อนรับผู้ที่เข้าร่วมประชุมฯ พร้อมทั้งแนะนำคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยทักษิณ พร้อมเปิดการประชุมด้วยชุดการแสดงตระการตา ภายใต้ชุดการแสดง Glocalization "จากรากสู่โลก" โดยนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณภาพ :  มหาวิทยาลัยทักษิณ
20 ตุลาคม 2567
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ประจำปี 2567
วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 ที่ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ประจำปี 2567โดยมี นางอรุณี ไฮม์ม รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นประธานการประชุมดังกล่าวโดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ เพื่อการพัฒนาแก่รัฐบาลภูฏานภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ระยะ 3 ปี อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งในปี 2567 นี้ ฝ่ายไทยและภูฏานจะร่วมจัดการประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย_ภูฏาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือ ทบทวน และติดตามความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยและภูฏานในปัจจุบันทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาให้แก่ภูฏานในปี 2567-2570 เพื่อส่งเสริมแโดยละพัฒนาทักษะของบุคลากรภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ราชอาณาจักรภูฏาน โดยการสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับการศึกษาระดับปริญญาโท (Full scholarship) จำนวน 15 ทุน และการพัฒนาบุคลากรโดยการจัดฝึกอบรมระยะสั้น 5 หลักสูตร จำนวน 63 ทุน
9 ตุลาคม 2567
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 (The 15th CUPT-CRISU Conference 2024) ภายใต้หัวข้อ “Charting the Path to Sustainable Universities: A Holistic Approach to ESG Integration”
ในระหว่างวันที่ 3-4 ตุลาคม 2567 ที่โรงแรมอโนมา แกรนด์กรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี  นางสาวกวิสราแก้ววิทยาลาภ นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 (The 15th CUPT-CRISU Conference 2024) ภายใต้หัวข้อ “Charting the Path to Sustainable Universities: A Holistic Approach to ESG Integration” ซึ่งการจัดประชุมดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจในการบูรณาการหลักการ E (Environment) S (Social) G (Governance) เข้ากับชุมชนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นอธิการบดี คณบดี ผู้บริหาร และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยสมาชิกของทั้ง 2 ประเทศ
3 ตุลาคม 2567
พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วย “ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร
วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ที่ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานครนายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และนายชัยยศ สัมฤทธิ์กุล กรรมการ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วย “ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด  ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวถึงการสนับสนุนงานวิจัยด้านการพัฒนาพันธุ์พืชผัก และความเป็นมาของ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชานุมัติให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา โดยศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธุ์เพ็ญศิริ ร่วมกับบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ดำเนินการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ จำนวน 19 ชนิด ที่ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชในนามของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปปลูกต่อได้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรในระบบอินทรีย์อย่างมาก ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้จัดตั้ง บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เพื่อผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์อินทรีย์เท่านั้น รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องด้านเกษตรอินทรีย์เมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ทั้ง 19 ชนิด ได้แก่ ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์ เบอร์ 1, ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ เบอร์ 1, มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์, พริกขี้หนูปู่เมธ, แตงไทยหอมละมุน, สลัดช่อผกาพัฒนาเอง, พริกพัฒนฉันท์, สลัดสวยงาม, ถั่วฝักยาวเสือเขียว, ถั่วฝักยาวเสือลายพาดกลอน, ถั่วฝักยาวเสือดุ, ถั่วฝักยาวเสือขาว, ถั่วพูของชอบ, สลัดของขวัญ, สลัดขายดี, สลัดรสดี และสลัดคนดีผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ Facebook: ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / ไลน์ไอดี: @firstorganicseeds (ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์) / E-Mail: 09farm.mju@gmail.com หรือโทร 091 070 5757ราคาซองละ 20 บาทโปรโมชั่นพิเศษ ตั้งแต่วันนี้จนถึงเดือนธันวาคม 2567 “ซื้อ 5 ซอง แถม 1 ซอง” (สินค้ามีจำนวนจำกัดหรือจนกว่าสินค้าจะหมด)ทั้งนี้ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ มอบสมทบมูลนิธิชัยพัฒนาข่าว : มูลนิธิชัยพัฒนา
25 ตุลาคม 2567
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมอบนโยบาย ทิศทางการพัฒนา และแนวทางแผนบริหารมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแมโจ้-ชุมพร ปีงบประมาณ พ.ศ.2567-2571 แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมอาคารแม่โจ้ 80 ปี รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี พบปะบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2567 พร้อมกับแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนรองอธิการบดี กำกับดูแล กำกับการบริหารงาน สั่งและปฎิบัติการแทนอธิการบดี ตามกรอบภาระงาน กำกับดูแลมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (ตามคำสั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ 1361/2567)ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้นำเสนอนโยบายและแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัย (พ.ศ.2567-2571) แลกเปลี่ยนและรับฟังปัญหาการปฎิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยเน้นย้ำให้บุคลากรมองเป้าหมายเดียวกัน บูรณาการองค์ความรู้แต่ละสาขาวิชา สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และร่วมกันผลักดันให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มุ่งปฎิบัติงานตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้คือ การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการเกษตรสุขภาวะระดับนานาชาติต่อไปพร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พบปะบุคลากร พร้อมเสนอแนวคิดการปฎิบัติงาน กล่าวคือ ให้บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอก เพื่อดึงศักยภาพของแต่ละบุคคล ใช้กลยุทธิ์ในการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษา ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม ใส่ใจโครงสร้างพื้นฐานของทั้งบุคลากรและนักศึกษา ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการประชาสัมพันธ์ อันจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในการผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วย “วิชาการ-วิชาชีพ-วิชาชีวิต”อย่างไรก็ดี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ได้พบปะและให้กำลังใจบุคลากรในการขับเคลื่อนและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร คือ “มีทัศนคติที่ดีในการปฎิบัติงาน ร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในองค์กร ตลอดจนมองเป้าหมายข้างหน้าไปด้วยกัน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป”
22 ตุลาคม 2567
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่5/2567 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา
วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2567  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ณ เกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับการจัดอันดับเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอันดับ 4 ของประเทศ และอันดับ 361 ของโลก จากการจัดอันดับพิพิธภัณฑ์โลก (Museum World Ranking)  พร้อมรับชมชุดการแสดง 2 ชุด โดยนิสิตสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์  ในชุดการแสดง  "มวยไทย เมืองลุง"  และชุดการแสดง "กริช ลุ่มเลสาบสงขลา"วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่5/2567 (ทปอ.) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันพิจารณาปัญหาในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตามโครงสร้างของ ทปอ. อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่เป็นสมาชิก ทปอ.  ณ หอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก  ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย/อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดการประชุมฯ และดำเนินการประชุมตามวาระการประชุมฯ  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวต้อนรับผู้ที่เข้าร่วมประชุมฯ พร้อมทั้งแนะนำคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยทักษิณ พร้อมเปิดการประชุมด้วยชุดการแสดงตระการตา ภายใต้ชุดการแสดง Glocalization "จากรากสู่โลก" โดยนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณภาพ :  มหาวิทยาลัยทักษิณ
20 ตุลาคม 2567
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 (The 15th CUPT-CRISU Conference 2024) ภายใต้หัวข้อ “Charting the Path to Sustainable Universities: A Holistic Approach to ESG Integration”
ในระหว่างวันที่ 3-4 ตุลาคม 2567 ที่โรงแรมอโนมา แกรนด์กรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี  นางสาวกวิสราแก้ววิทยาลาภ นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 (The 15th CUPT-CRISU Conference 2024) ภายใต้หัวข้อ “Charting the Path to Sustainable Universities: A Holistic Approach to ESG Integration” ซึ่งการจัดประชุมดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจในการบูรณาการหลักการ E (Environment) S (Social) G (Governance) เข้ากับชุมชนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นอธิการบดี คณบดี ผู้บริหาร และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยสมาชิกของทั้ง 2 ประเทศ
3 ตุลาคม 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับมอบทุนการศึกษา “ทุนบุญรอดพัฒนา นิสิต นักศึกษา” ประจำปี 2567
วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2567 ที่ หอประชุมใหญ่ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด นางตรีรัตน์ มาร์คว๊าร์คเสน หัวหน้างานประสานงาน (กรุงเทพมหานคร) กองกลาง เป็นผู้แทนนำนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมพิธีมอบทุนการศึกษา “ทุนบุญรอดพัฒนา นิสิต นักศึกษา “ ประจำปี 2567 โดยมีนายปิติ ภิรมย์ภักดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด เป็นประธานมอบทุนการศึกษาให้กับนิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 22 สถาบัน เป็นเงิน 400,000 บาทสำหรับทุนการศึกษา “ทุนบุญรอดพัฒนา นิสิต นักศึกษา” ประจำปี 2567 เป็นทุนการศึกษาแบบต่อเนื่องที่มอบให้แก่นิสิต นักศึกษาที่มีความประพฤติดี มีผลการเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อสนับสนุนจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร โดยมอบทุนการศึกษาให้แก่สถาบันการศึกษาเป็นประจำทุกปี สถาบันละ 16 ทุน ทุนละ 25,000 บาท เพื่อส่งเสริมด้านการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพของตนเองต่อไป
13 กันยายน 2567
กองกลางเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2567 กิจกรรม : ระบบกระบวนการงานสารบรรณ (สายสนับสนุนวิชาการ)
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2567 นางพัชรี คำรินทร์ ผู้อำนวยการกองกลาง พร้อมด้วยนางสาวธันยรัศมิ์ วงศ์เกษม รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานอำนวยการ ได้รับเกียรติจากคณะสารสนเทศและการสื่อสาร เชิญเป็นวิทยากรโครงการจัดการความรู้ปีงบประมาณ 2567 กิจกรรม : ระบบกระบวนการงานสารสนเทศ (สายสนับสนุนวิชาการ) : หัวข้อหนังสือราชการ โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเรื่องแบบฟอร์มหนังสือราชการ หลักการร่างหนังสือ ขั้นตอนการเสนอหนังสือ ณ ห้องประชุม IC 103 ชั้น 1 อาคาร 75 ปีแม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
27 สิงหาคม 2567
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4/2567 และการประชุมสามัญสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงได้ ประจำประเทศไทย (สออ. ประเทศไทย) ครั้งที่ 2/2567
วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2567 เวลา 8.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา  อธิการบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี  เข้าร่วมประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4/2567 และการประชุมสามัญสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงได้ ประจำประเทศไทย (สออ. ประเทศไทย) ครั้งที่ 2/2567โดยมีศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุมณ ห้องประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ชั้น 2 มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานครข่าว : กองกลาง
25 สิงหาคม 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมพิธีทำบุญสำนักสำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 นางตรีรัตน์ มาร์คว๊าร์คเสน หัวหน้างานประสานงาน ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทน รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมพิธีทำบุญสำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร บุคลากรส่วนงานต่าง ๆ ร่วมพิธี ณ สำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯข่าว : กองกลาง
30 กรกฎาคม 2567
กองกลางได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการจัดเตรียมเครื่องดื่มงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2567 นำโดย นางพัชรี คำรินทร์ ผู้อำนวยการกองกลาง พร้อมด้วยหัวหน้างาน บุคลากรสังกัดกองกลางได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการจัดเตรียมเครื่องดื่ม งานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องนิทรรศการ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ข่าว : กองกลาง
30 กรกฎาคม 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องนิทรรศการ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่
วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2567 เวลา 18.00 น. ที่ห้องนิทรรศการ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยภริยา , รองศาสตราจารย์ ดร.เกียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี เข้าร่วมงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567โดยการนี้มี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้เดินไปยังเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายความเคารพ เปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ และกล่าวถวายพระพรชัยมงคล พร้อมกับร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงสดุดีจอมราชา จากนั้นได้นำผู้ร่วมงาน กล่าวทรงพระเจริญ 3 ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีโดยภายในงาน ได้มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมฟ้อนเทียนเฉลิมพระเกียรติ จากชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ การแสดงเฉลิมพระเกียรติชุด “พระบารมีปกฟ้า ล้านนาร่มเย็น” จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ขณะเดียวกัน ได้มีการแสดงดนตรีจากมณฑลทหารบกที่ 33 และกองบิน 41 มาร่วมบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ ขับกล่อมให้กับผู้ร่วมงานได้รับฟังอีกด้วยข่าว : กองกลาง 
30 กรกฎาคม 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดโครงการอธิการบดีและผู้บริหารพบบุคลากร ( วิทยาลัยนานาชาติ )
3/5/2566 16:51:28
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดอบรมเชิงปฎิบัติการ การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำ : หัวหน้างาน/หัวหน้าฝ่าาย สังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย (นสม.รุ่น1)
3/5/2566 13:33:32
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
1/5/2566 11:21:46
มหาวิทยาลัยแม่โจ้มอบต้นตะเคียนแก่วัดลัฏฐิวัน(พระนอนขอนตาล) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านสาธาณกุศล
7/4/2566 10:51:36
กำหนดการงานกิจกรรม Big Cleaning Day สำนักงานอธิการบดี ประจำปี 2553
1/1/2557 0:00:00
ขอเชิญบุคลากรทุกท่าน ร่วมงานกิจกรรม Big Cleaning Day สำนักงานอธิการบดี ในวันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ โถงชั้น 1 สำนักงานอธิการบดี
1/1/2557 0:00:00
รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินกิจกรรม 5 ส สนอ. ครั้งที่ 1/2554
12/8/2553 14:02:31
รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสำนักงานอธิการบดี ประจำปี 2553
1/1/2557 0:00:00
รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการกิจกรรม 5 ส ของสำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ 2553
1/1/2557 0:00:00
ผลการเข้าตรวจกิจกรรม 5 ส สำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2553
1/1/2557 0:00:00
ข่าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้