สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม

สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ชู ม.แม่โจ้ ปั้นนักศึกษาสู่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ พร้อมดึงงานวิจัย-นวัตกรรมต่อยอดเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ
ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนา อววน. สำนักงานปลัดกระทรวง อว. พร้อมด้วย ศ.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และ รศ.ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์ ผศ.ไชยยันต์ ชนะพรมมา คณะกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง (Reinventing University) ประจำปีงบประมาณ 2567 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ โดยมี รศ.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ พร้อมนำเยี่ยมชมผลการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ณ อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหารรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันเกษตรอัจฉริยะในประเทศไทย มีหลักสูตรด้านวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรม เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ และมีการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง และได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Agriculture) ประกอบกับจุดเด่นในด้านเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ประกอบการและหน่วยงานทุกภาคส่วน มาใช้เป็นกลไกในการดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร พร้อมทั้งสนับสนุนนักศึกษาที่สนใจเป็นผู้ประกอบการให้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สนใจมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงสามารถสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์เพื่อสร้างผลงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นด้าน ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความพร้อมและประสบการณ์ในการพัฒนาผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้นโยบายสู่การเป็น Entrepreneurial University ผ่านกลไกระบบนิเวศในการสนับสนุนผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัย และจากผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขยายผลสู่การสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ MJU Agri smart startup Academy จะเป็นการเสริมสร้างและผลักดันให้มหาวิทยาลัยเกิดผู้ประกอบการใหม่จากฐานนักศึกษา ภายใต้ระบบนิเวศของมหาวิทยาลัยที่มีการเชื่อมโยงและผลักดันผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาการเป็นผู้ประกอบการและการจัดโปรแกรมการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่นักศึกษาอย่างเป็นระบบศ.ศันสนีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้วางรากฐานกลไกและระบบเพื่อผลักดันผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญาจากองค์ความรู้ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมาเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน เพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสร้างผู้ประกอบการใหม่ อีกทั้ง สร้างกำลังคนและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และพัฒนาทักษะของบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต จะเห็นว่า จากการดำเนินการดังกล่าว ในปีนี้ มหาวิทยาลัยได้นำผลงานวิจัยยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จำนวน 13 ผลงาน ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย และกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในวงกว้าง นอกจากนี้ อีกหนึ่งความสำเร็จที่โดดเด่น คือ การผลักดันการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิพันธุ์พืช จำนวน 3 คำขอในสหรัฐอเมริกา ต่อสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา (USPTO) จากผลงานการพัฒนาพันธุ์ดอกปทุมมา และการปรับปรุงพันธุ์ระหว่างปทุมมาและกระเจียวพลอยไพลิน ได้แก่ แม่โจ้กรีนเพิร์ล แม่โจ้ไวท์เพิร์ล และแม่โจ้พิงค์เพิร์ล และได้ร่วมกับสถานประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาไม้ประดับ เพื่อวางแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป“คณะกรรมการฯ เห็นว่า ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การพัฒนาทักษะด้านความเป็นผู้ประกอบการ ควรต้องบูรณาการร่วมกันทั้งระบบ โดยเสริมเข้าไปในหลักสูตรรายวิชาทั่วไป (GenED) รวมถึงควรมีระบบการประเมินและเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะของผู้สอนและนักศึกษา เพื่อเสริมทักษะและทัศนคติในการเป็นผู้ประกอบการ และสุดท้ายควรเชื่อมโยงหลักสูตรเข้าสู่ระบบคลังหน่วยกิต (credit bank) เพื่อสะสมหน่วยกิตและผลการศึกษา ตามนโยบายกระทรวง อว. รวมถึง ควรประเมินความคุ้มค่า ผลกระทบ และความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้น” ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวที่มา : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
3 เมษายน 2568
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567
วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 นางตรีรัตน์ มาร์คว๊าร์คเสน หัวหน้างานประสานงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนเข้าร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมีนายวันนี นนท์ศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานและ นายฮิโรยาสุ ซาโต้ รองประธานและประธานส่วนการศึกษา คณะกรรมการฝ่ายความช่วยเหลือสังคม ของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เป็นผู้มอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567 ในการนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับทุนจำนวน 3ทุน ระดับปริญญาตรี จำนวน2ทุน ปริญญาโทจำนวน1 ทุน ซึ่งเป็นทุนการศึกษาแบบให้เปล่าและไม่มีข้อผูกพันใด ๆ ที่จัดสรรให้แก่นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ที่ศึกษาอยู่ในคณะหรือสาขาวิชาต่าง ๆ ทุกสาขาวิชา และเฉพาะสาขาวิชาทางด้านสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ ม.แม่โจ้ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ม.สงขลานครินทร์ และ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงใหม่ โดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ได้จัดสรรเงินทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวนทุนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา เป็นระยะเวลา 4 ปีการศึกษา และจัดสรรเงินทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวนทุนละ 50,000 บาทต่อปีการศึกษา เป็นระยะเวลา 2 ปีการศึกษา และต่อมาในปีการศึกษา 2567 ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาเพิ่มเติมจากเดิม โดยจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีที่ศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (วิทยาเขตบางพระ) ม.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ศูนย์นนทบุรี) ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ศูนย์เทคนิคกรุงเทพฯ) และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เพื่อเป็นทุนการศึกษาตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร ปีการศึกษาละ 25 ทุน จำนวนทุนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา รวมทุนการศึกษาที่หอการค้าญี่ปุ่น–กรุงเทพฯ จัดสรรให้แก่นิสิต นักศึกษา จำนวนปีการศึกษาละ 50 ทุน ณ ห้องบอลรูม โรงแรมแบรนด์ กรุงเทพฯ
3 เมษายน 2568
Professor Dr. Vincent R.C. Shih ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ National Pingtung University of Science and Technology สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และ Ms. Yi-Han Hsueh เลขานุการโท ฝ่ายการศึกษา สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เยือนมหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วยคณบดี และรองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติให้การต้อนรับ Professor Dr. Vincent R.C. Shih ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ National Pingtung University of Science and Technology สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และ Ms. Yi-Han Hsueh เลขานุการโท ฝ่ายการศึกษา สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ในโอกาสที่มาเยือนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการหารือความมือทางวิชาการระหว่างสองมหาวิทยาลัย
7 มีนาคม 2568
ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้ารับทุนมูลนิธิสมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงชินวราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์
วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2568 นางตรีรัตน์ มาร์คว๊าร์คเสน ตำแหน่งหัวหน้างานประสานงาน ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าพิธีมอบทุนการศึกษามูนิธิสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เนื่องในวาระ ๑๒๘ ปีนับแต่วันประสูติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระวโรกาสให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ นำผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา โรงเรียน สำนักเรียนพระปริยัติธรรม โรงพยาบาล และองค์กรสาธารณกุศล จำนวน ๕๐ แห่ง เฝ้ารับประทานทุนมูลนิธิ ฯ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
3 มีนาคม 2568
สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ชู ม.แม่โจ้ ปั้นนักศึกษาสู่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ พร้อมดึงงานวิจัย-นวัตกรรมต่อยอดเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ
ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนา อววน. สำนักงานปลัดกระทรวง อว. พร้อมด้วย ศ.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และ รศ.ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์ ผศ.ไชยยันต์ ชนะพรมมา คณะกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง (Reinventing University) ประจำปีงบประมาณ 2567 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ โดยมี รศ.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ พร้อมนำเยี่ยมชมผลการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ณ อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหารรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันเกษตรอัจฉริยะในประเทศไทย มีหลักสูตรด้านวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรม เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ และมีการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง และได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Agriculture) ประกอบกับจุดเด่นในด้านเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ประกอบการและหน่วยงานทุกภาคส่วน มาใช้เป็นกลไกในการดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร พร้อมทั้งสนับสนุนนักศึกษาที่สนใจเป็นผู้ประกอบการให้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สนใจมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงสามารถสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์เพื่อสร้างผลงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นด้าน ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความพร้อมและประสบการณ์ในการพัฒนาผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้นโยบายสู่การเป็น Entrepreneurial University ผ่านกลไกระบบนิเวศในการสนับสนุนผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัย และจากผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขยายผลสู่การสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ MJU Agri smart startup Academy จะเป็นการเสริมสร้างและผลักดันให้มหาวิทยาลัยเกิดผู้ประกอบการใหม่จากฐานนักศึกษา ภายใต้ระบบนิเวศของมหาวิทยาลัยที่มีการเชื่อมโยงและผลักดันผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาการเป็นผู้ประกอบการและการจัดโปรแกรมการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่นักศึกษาอย่างเป็นระบบศ.ศันสนีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้วางรากฐานกลไกและระบบเพื่อผลักดันผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญาจากองค์ความรู้ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมาเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน เพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสร้างผู้ประกอบการใหม่ อีกทั้ง สร้างกำลังคนและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และพัฒนาทักษะของบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต จะเห็นว่า จากการดำเนินการดังกล่าว ในปีนี้ มหาวิทยาลัยได้นำผลงานวิจัยยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จำนวน 13 ผลงาน ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย และกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในวงกว้าง นอกจากนี้ อีกหนึ่งความสำเร็จที่โดดเด่น คือ การผลักดันการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิพันธุ์พืช จำนวน 3 คำขอในสหรัฐอเมริกา ต่อสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา (USPTO) จากผลงานการพัฒนาพันธุ์ดอกปทุมมา และการปรับปรุงพันธุ์ระหว่างปทุมมาและกระเจียวพลอยไพลิน ได้แก่ แม่โจ้กรีนเพิร์ล แม่โจ้ไวท์เพิร์ล และแม่โจ้พิงค์เพิร์ล และได้ร่วมกับสถานประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาไม้ประดับ เพื่อวางแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป“คณะกรรมการฯ เห็นว่า ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การพัฒนาทักษะด้านความเป็นผู้ประกอบการ ควรต้องบูรณาการร่วมกันทั้งระบบ โดยเสริมเข้าไปในหลักสูตรรายวิชาทั่วไป (GenED) รวมถึงควรมีระบบการประเมินและเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะของผู้สอนและนักศึกษา เพื่อเสริมทักษะและทัศนคติในการเป็นผู้ประกอบการ และสุดท้ายควรเชื่อมโยงหลักสูตรเข้าสู่ระบบคลังหน่วยกิต (credit bank) เพื่อสะสมหน่วยกิตและผลการศึกษา ตามนโยบายกระทรวง อว. รวมถึง ควรประเมินความคุ้มค่า ผลกระทบ และความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้น” ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวที่มา : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
3 เมษายน 2568
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567
วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 นางตรีรัตน์ มาร์คว๊าร์คเสน หัวหน้างานประสานงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนเข้าร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมีนายวันนี นนท์ศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานและ นายฮิโรยาสุ ซาโต้ รองประธานและประธานส่วนการศึกษา คณะกรรมการฝ่ายความช่วยเหลือสังคม ของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เป็นผู้มอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567 ในการนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับทุนจำนวน 3ทุน ระดับปริญญาตรี จำนวน2ทุน ปริญญาโทจำนวน1 ทุน ซึ่งเป็นทุนการศึกษาแบบให้เปล่าและไม่มีข้อผูกพันใด ๆ ที่จัดสรรให้แก่นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ที่ศึกษาอยู่ในคณะหรือสาขาวิชาต่าง ๆ ทุกสาขาวิชา และเฉพาะสาขาวิชาทางด้านสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ ม.แม่โจ้ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ม.สงขลานครินทร์ และ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงใหม่ โดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ได้จัดสรรเงินทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวนทุนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา เป็นระยะเวลา 4 ปีการศึกษา และจัดสรรเงินทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวนทุนละ 50,000 บาทต่อปีการศึกษา เป็นระยะเวลา 2 ปีการศึกษา และต่อมาในปีการศึกษา 2567 ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาเพิ่มเติมจากเดิม โดยจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีที่ศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (วิทยาเขตบางพระ) ม.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ศูนย์นนทบุรี) ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ศูนย์เทคนิคกรุงเทพฯ) และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เพื่อเป็นทุนการศึกษาตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร ปีการศึกษาละ 25 ทุน จำนวนทุนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา รวมทุนการศึกษาที่หอการค้าญี่ปุ่น–กรุงเทพฯ จัดสรรให้แก่นิสิต นักศึกษา จำนวนปีการศึกษาละ 50 ทุน ณ ห้องบอลรูม โรงแรมแบรนด์ กรุงเทพฯ
3 เมษายน 2568
Professor Dr. Vincent R.C. Shih ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ National Pingtung University of Science and Technology สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และ Ms. Yi-Han Hsueh เลขานุการโท ฝ่ายการศึกษา สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เยือนมหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วยคณบดี และรองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติให้การต้อนรับ Professor Dr. Vincent R.C. Shih ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ National Pingtung University of Science and Technology สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และ Ms. Yi-Han Hsueh เลขานุการโท ฝ่ายการศึกษา สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ในโอกาสที่มาเยือนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการหารือความมือทางวิชาการระหว่างสองมหาวิทยาลัย
7 มีนาคม 2568
ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้ารับทุนมูลนิธิสมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงชินวราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์
วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2568 นางตรีรัตน์ มาร์คว๊าร์คเสน ตำแหน่งหัวหน้างานประสานงาน ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าพิธีมอบทุนการศึกษามูนิธิสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เนื่องในวาระ ๑๒๘ ปีนับแต่วันประสูติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระวโรกาสให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ นำผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา โรงเรียน สำนักเรียนพระปริยัติธรรม โรงพยาบาล และองค์กรสาธารณกุศล จำนวน ๕๐ แห่ง เฝ้ารับประทานทุนมูลนิธิ ฯ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
3 มีนาคม 2568
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับมอบทุนการศึกษา “ทุนบุญรอดพัฒนา นิสิต นักศึกษา” ประจำปี 2567
วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2567 ที่ หอประชุมใหญ่ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด นางตรีรัตน์ มาร์คว๊าร์คเสน หัวหน้างานประสานงาน (กรุงเทพมหานคร) กองกลาง เป็นผู้แทนนำนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมพิธีมอบทุนการศึกษา “ทุนบุญรอดพัฒนา นิสิต นักศึกษา “ ประจำปี 2567 โดยมีนายปิติ ภิรมย์ภักดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด เป็นประธานมอบทุนการศึกษาให้กับนิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 22 สถาบัน เป็นเงิน 400,000 บาทสำหรับทุนการศึกษา “ทุนบุญรอดพัฒนา นิสิต นักศึกษา” ประจำปี 2567 เป็นทุนการศึกษาแบบต่อเนื่องที่มอบให้แก่นิสิต นักศึกษาที่มีความประพฤติดี มีผลการเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อสนับสนุนจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร โดยมอบทุนการศึกษาให้แก่สถาบันการศึกษาเป็นประจำทุกปี สถาบันละ 16 ทุน ทุนละ 25,000 บาท เพื่อส่งเสริมด้านการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพของตนเองต่อไป
13 กันยายน 2567
กองกลางเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2567 กิจกรรม : ระบบกระบวนการงานสารบรรณ (สายสนับสนุนวิชาการ)
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2567 นางพัชรี คำรินทร์ ผู้อำนวยการกองกลาง พร้อมด้วยนางสาวธันยรัศมิ์ วงศ์เกษม รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานอำนวยการ ได้รับเกียรติจากคณะสารสนเทศและการสื่อสาร เชิญเป็นวิทยากรโครงการจัดการความรู้ปีงบประมาณ 2567 กิจกรรม : ระบบกระบวนการงานสารสนเทศ (สายสนับสนุนวิชาการ) : หัวข้อหนังสือราชการ โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเรื่องแบบฟอร์มหนังสือราชการ หลักการร่างหนังสือ ขั้นตอนการเสนอหนังสือ ณ ห้องประชุม IC 103 ชั้น 1 อาคาร 75 ปีแม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
27 สิงหาคม 2567
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4/2567 และการประชุมสามัญสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงได้ ประจำประเทศไทย (สออ. ประเทศไทย) ครั้งที่ 2/2567
วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2567 เวลา 8.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา  อธิการบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี  เข้าร่วมประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4/2567 และการประชุมสามัญสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงได้ ประจำประเทศไทย (สออ. ประเทศไทย) ครั้งที่ 2/2567โดยมีศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุมณ ห้องประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ชั้น 2 มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานครข่าว : กองกลาง
25 สิงหาคม 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมพิธีทำบุญสำนักสำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 นางตรีรัตน์ มาร์คว๊าร์คเสน หัวหน้างานประสานงาน ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทน รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมพิธีทำบุญสำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร บุคลากรส่วนงานต่าง ๆ ร่วมพิธี ณ สำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯข่าว : กองกลาง
30 กรกฎาคม 2567
กองกลางได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการจัดเตรียมเครื่องดื่มงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2567 นำโดย นางพัชรี คำรินทร์ ผู้อำนวยการกองกลาง พร้อมด้วยหัวหน้างาน บุคลากรสังกัดกองกลางได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการจัดเตรียมเครื่องดื่ม งานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องนิทรรศการ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ข่าว : กองกลาง
30 กรกฎาคม 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องนิทรรศการ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่
วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2567 เวลา 18.00 น. ที่ห้องนิทรรศการ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยภริยา , รองศาสตราจารย์ ดร.เกียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี เข้าร่วมงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567โดยการนี้มี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้เดินไปยังเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายความเคารพ เปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ และกล่าวถวายพระพรชัยมงคล พร้อมกับร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงสดุดีจอมราชา จากนั้นได้นำผู้ร่วมงาน กล่าวทรงพระเจริญ 3 ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีโดยภายในงาน ได้มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมฟ้อนเทียนเฉลิมพระเกียรติ จากชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ การแสดงเฉลิมพระเกียรติชุด “พระบารมีปกฟ้า ล้านนาร่มเย็น” จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ขณะเดียวกัน ได้มีการแสดงดนตรีจากมณฑลทหารบกที่ 33 และกองบิน 41 มาร่วมบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ ขับกล่อมให้กับผู้ร่วมงานได้รับฟังอีกด้วยข่าว : กองกลาง 
30 กรกฎาคม 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี ตำแหน่งเลขที่ 448 สังกัดกองคลัง สำนักงานมหาวิทยาลัย
30/1/2568 16:54:32
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ ตำแหน่งเลขที่ 500 สังกัดงานประสานงาน กองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย
30/1/2568 15:37:10
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งนักตรวจสอบภายในปฏิบัติการ ตำแหน่งเลขที่ 377 สังกัดกองตรวจสอบภายใน
29/1/2568 14:10:53
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ ตำแหน่งเลขที่ 624 สังกัดกองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย
29/1/2568 14:11:36
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ ตำแหน่งเลขที่ 445 สังกัดกองเลขานุการสภามหาวิทยาลัย สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
29/1/2568 14:11:46
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดโครงการอธิการบดีและผู้บริหารพบบุคลากร ( วิทยาลัยนานาชาติ )
3/5/2566 16:51:28
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดอบรมเชิงปฎิบัติการ การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำ : หัวหน้างาน/หัวหน้าฝ่าาย สังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย (นสม.รุ่น1)
3/5/2566 13:33:32
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
1/5/2566 11:21:46
มหาวิทยาลัยแม่โจ้มอบต้นตะเคียนแก่วัดลัฏฐิวัน(พระนอนขอนตาล) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านสาธาณกุศล
7/4/2566 10:51:36
กำหนดการงานกิจกรรม Big Cleaning Day สำนักงานอธิการบดี ประจำปี 2553
1/1/2557 0:00:00
ข่าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้