สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และวางพานพุ่มดอกไม้ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566
วันอังคาร์ที่ 5 ธันวาคม 2566 ที่ ห้องนิทรรศการ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี พร้อมด้วยบุคลากรกองบริหารทรัพยากรบุคคล เข้าร่วมในพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 89 รูป เพื่อถวายพระราชกุศล และร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566 เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ตลอดจนแสดงออกถึงความจงรักภักดี และการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ และเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดมา โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี วีระยุทธ แสนสุข : กองกลาง 
5 ธันวาคม 2566     |      1058
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลง เดินหน้าสู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะและสังคมไร้เงินสด
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ นายกมล ธนนิธาพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงสู่การเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะและสังคมไร้เงินสด (MJU Smart Universityด้วยระบบบริหารจัดการทางการเงินผ่าน Krungthai Digital Platform ที่เชื่อมต่อการทำธุรกรรมดิจิทัลกับทุกกิจกรรมของมหาวิทยาลัยด้วยแอปพลิเคชัน MJU Mobile รวมถึงบัตรประจำตัวนักศึกษาและบุคลากรแบบ Smart ID Card ที่ใช้เป็นบัตรประจำตัวและบัตร ATM โดยมีผู้บริหารทั้งสองหน่วยงาน ร่วมเป็นสักขีพยานณ ห้องประชุมอินทนิล อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่  19 ตุลาคม  2566การลงนามในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพัฒนาการจัดการเรียน การสอน การบริหารจัดการ การวิจัย และการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมีสิ่งอำนวยความสะดวก พร้อมยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการด้านการศึกษาแก่นักศึกษา บุคลากร และผู้ใช้บริการ รวมถึงหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ตลอดจนระบบการชำระเงินต่าง ๆ โดยสามารถปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับโลกยุคดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทันสมัยและสะดวกรวดเร็วขึ้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 พัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม มุ่งการจัดการศึกษาเพื่อเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ของประเทศในการพัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ เน้นการเรียนการสอนควบคู่กับการปฏิบัติการจริงเพื่อพัฒนาสมรรถนะและทักษะในการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของธนาคารกรุงไทย ในการพัฒนากลุ่มการศึกษา มุ่งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาเพื่อยกระดับอย่างต่อเนื่อง  โดยพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีควบคู่ไปกับความรู้ทางการเงินและการทำธุรกรรมการเงินให้กับนักศึกษาและบุคลากรของสถาบัน เพื่อเตรียมพร้อมการเข้าสู่ Digital Economy ในอนาคต โดยสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน
19 ตุลาคม 2566     |      1807
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดโครงการอธิการบดีและผู้บริหารพบบุคลากร (กองตรวจสอบภายใน)
วันศุกรที่ 25 สิงหารคม 2566  ณ ห้องพวงเสด ชั้น2 สำนักงานมหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมโครงการอธิการบดีและผู้บริหารพบบุคลากร ( กองตรวจสอบภายใน ) โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานมหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ได้สื่อสารไปยังผู้บริหารและบุคลากรทุกหน่วยงาน ในการรับทราบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย รวมถึงนโยบายมหาวิทยาลัยในอนาคตให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากบุคลากรในการพัฒนามหาวิทยาลัย
25 สิงหาคม 2566     |      1850
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านวิชาการ วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม ชั้น 16 อาคารนวัตกรรม ศ.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา โดยมีคณะผู้บริหารทั้งสองสถาบันร่วมเป็นสักขีพยาน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการ วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระหว่างสองสถาบัน ส่งเสริมให้นักศึกษา นักเรียนได้พัฒนาความรู้และทักษะร่วมกันโดยการเรียนรู้จากการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนระหว่างสองสถาบัน โดยมุ่งหวังให้มีความรู้ที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และสร้างความร่วมมือในเชิงภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งระหว่างสองสถาบัน เช่น การประชาสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนข่าวสาร และการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งทั้งสองสถาบันได้รับประโยชน์สอดคล้องกับความต้องการ
21 สิงหาคม 2566     |      722
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดโครงการอธิการบดีและผู้บริหารพบบุคลากร ( คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี )
วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 2210 คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมโครงการอธิการบดีและผู้บริหารพบบุคลากร ( คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ) โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานมหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ได้สื่อสารไปยังผู้บริหารและบุคลากรทุกหน่วยงาน ในการรับทราบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย รวมถึงนโยบายมหาวิทยาลัยในอนาคตให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากบุคลากรในการพัฒนามหาวิทยาลัย
18 กรกฎาคม 2566     |      1253
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ลงนามต่ออายุความร่วมมือทางวิชาการกับ Pampanga State Agricultural University ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อสานต่อความร่วมมือ
วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วศิน เจริญตัณธนกุล รักษาการแทนคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์, อาจารย์ ดร.ศรัณย์ จันทร์ทะเล รองคณบดีคณะศิลปศาสตร์, อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กมลเทพ มีคำ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมในพิธีลงนามต่ออายุความร่วมมือทางวิชาการกับ Pampanga State Agricultural University ประเทศฟิลิปปินส์ ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 สำนักงานมหาวิทยาลัย พร้อมพูดคุยหารือกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานของ Pampanga State Agricultural University Maejo University has signed an extension of academic cooperation with Pampanga State Agricultural University in the Philippines to continue their collaboration. On July 17, 2566 (2023), Associate Professor Dr. Weerapon Thongma, the President of Maejo University, together with Associate Professor Dr. Wasin Charentanathornkul, Acting Dean of the Faculty of Veterinary Medicine, Dr. Saran Chantalay, Deputy Dean of the Faculty of Leberal Arts, Dr. Wongphan Promwong, Assistant to the Dean of the Faculty of Agricultural Production, and Assistant Professor Kamonthep Mecam, professor of the Faculty of Science, participated in the signing ceremony to extend the academic cooperation with Pampanga State Agricultural University via an online meeting held in the University Council Room, 5th floor, the University Office. They also discussed future collaborative activities with departments of Pampanga State Agricultural University.
17 กรกฎาคม 2566     |      802
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดโครงการอธิการบดีและผู้บริหารพบบุคลากร ( หน่วยงานวิสาหกิจ )
วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมอาคม กาญจนประโชติ อาคารอำนวย ยศสุข นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมโครงการอธิการบดีและผู้บริหารพบบุคลากร ( หน่วยงานวิสาหกิจ ) โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานมหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ได้สื่อสารไปยังผู้บริหารและบุคลากรทุกหน่วยงาน ในการรับทราบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย รวมถึงนโยบายมหาวิทยาลัยในอนาคตให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากบุคลากรในการพัฒนามหาวิทยาลัย
11 กรกฎาคม 2566     |      203
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดโครงการอธิการบดีและผู้บริหารพบบุคลากร ( กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม , ฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ
วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมอาคม กาญจนประโชติ อาคารอำนวย ยศสุข นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมโครงการอธิการบดีและผู้บริหารพบบุคลากร ( กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม , ฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ ) โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานมหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ได้สื่อสารไปยังผู้บริหารและบุคลากรทุกหน่วยงาน ในการรับทราบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย รวมถึงนโยบายมหาวิทยาลัยในอนาคตให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากบุคลากรในการพัฒนามหาวิทยาลัย
11 กรกฎาคม 2566     |      156
อว. ชู ม.แม่โจ้ ต้นแบบความสำเร็จโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย พัฒนาครบทุกมิติ พร้อมวางรากฐานปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืน
เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหารือผลการดําเนินงานโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษา รมว.อว. ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รมว.อว. ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการ อว. นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัด อว. นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ คณะผู้บริหาร อว. รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณาจารย์และเจ้าหน้าที่เข้าร่วม ที่ห้องประชุม ชั้น 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวว่า อว.ดำเนินโครงการการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว โดยได้มีการแบ่งกลุ่มมหาวิทยาลัยออกเป็น 5 กลุ่ม ตามความเป็นเลิศของแต่ละแห่ง ที่ผ่านมาได้มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอยู่ตลอด และมีการติดตามประเมินผลความคืบหน้าสม่ำเสมอ โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม มียุทธศาสตร์ที่มุ่งสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์เพื่อสร้างผลงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนเกิดการสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตและบริการ รวมทั้งการเน้นการเรียนการสอนควบคู่กับการปฏิบัติการจริง เพื่อพัฒนาสมรรถนะและทักษะในการทำงาน“มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นต้นแบบสำคัญที่จะตอบโจทย์ว่าโครงการนี้มีความคืบหน้าและผลการดำเนินการอย่างไร ซึ่งทำให้มองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน มีการพัฒนาและผลักดันผลิตภัณฑ์ต้นแบบสู่ความเป็นเลิศ เกิดผู้ประกอบการใหม่ด้านนวัตกรรม เกิดการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ จากผลการดำเนินการดังกล่าว ทำให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้บรรลุตัวชี้วัดความสำเร็จของงานที่ อว. ได้มอบแนวทางไว้ ทั้งการพัฒนากำลังคน พัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาหลักสูตร การผลักดันงานต่างๆ สู่การยอมรับระดับนานาชาติ และที่สำคัญมีการวางรากฐานที่มั่นคงเพื่อที่จะปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยและและสานต่อโครงการต่าง ๆ ให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้” ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวด้าน รศ.ดร.วีระพล กล่าวว่า หลังจากการเข้าร่วมโครงการการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ทำให้มหาวิทยาลัยมีนักศึกษาสมัครเข้ามาเรียนมากยิ่งขึ้น โดยเป้าหมายในปีนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้จะผลักดันให้เกิดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ให้มากที่สุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจจะไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด แต่เรามีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยให้ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย พร้อมให้ทุกคณะสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อไปขณะที่ นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า ความชัดเจนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ มีการเชื่อมโยงเรื่องดังกล่าวเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย แผนพัฒนาความเป็นเลิศและมีการถ่ายทอดแผนต่าง ๆ ไปสู่แต่ละคณะของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการบริหารที่เป็นรูปธรรมและไปในทิศทางเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัย ขณะที่หลักสูตรต่างๆ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยังได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการเชียงใหม่ และเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดีที่มา : อว. ชู ม.แม่โจ้ ต้นแบบความสำเร็จโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย พัฒนาครบทุกมิติ (mgronline.com)
7 กรกฎาคม 2566     |      253
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดโครงการอธิการบดีและผู้บริหารพบบุคลากร ( กองพัฒนานักศึกษา )
วันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมอาคม กาญจนประโชติ อาคารอำนวย ยศสุข นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมโครงการอธิการบดีและผู้บริหารพบบุคลากร ( กองพัฒนานักศึกษา ) โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานมหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ได้สื่อสารไปยังผู้บริหารและบุคลากรทุกหน่วยงาน ในการรับทราบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย รวมถึงนโยบายมหาวิทยาลัยในอนาคตให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากบุคลากรในการพัฒนามหาวิทยาลัย
31 พฤษภาคม 2566     |      278
ทั้งหมด 35 หน้า