สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครูเเละบริหารการศึกษาอำเภอสันทรายหารือความร่วมมือด้านวิชาการ
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ นายณรงค์ ลุมมา ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเเม่เเก้ดน้อย (ประธานศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอสันทรายเเละนายกสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครูเเละบริหารการศึกษาอำเภอสันทราย) พร้อมคณะครู ได้เข้าร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการในการเพิ่มโอกาสการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาและการอบรมหลักสูตรต่างๆ รวมถึงการพัฒนาทางวิชาการของนักเรียนในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย ณ ห้องปรชุม 401 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
22 กุมภาพันธ์ 2566     |      185
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2564-2565 (ครั้งที่ 45) วันที่สอง
วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 12.26 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2564-2565 (ครั้งที่ 45) เป็นวันที่สอง ซึ่งมีบัณฑิตจากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จำนวน 1,232 ราย เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีรากฐานทางการเกษตรที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ มีวิสัยทัศน์เป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ” และพร้อมก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ของประเทศในการพัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ ด้วยแผนพัฒนาความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ.2566-2570 “พลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การสร้างบัณฑิตผู้ประกอบการเศรษฐกิจสร้างคุณค่า ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ” ได้ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติจำนวนมาก ด้วยปณิธานที่มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน ซึ่งอัตลักษณ์ที่ชัดเจนของบัณฑิตแม่โจ้ คือ “เป็นนักปฏิบัติทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา” เป็นที่ประทับใจและเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ เป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเจอ เป็นนักจิตอาสา เป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคม นอกจากด้านการผลิตบัณฑิตแล้ว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังได้สนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยที่ต่อยอดองค์ความรู้จนเกิดเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับชาติและนานาชาติ สามารถนำไปช่วยเหลือ พัฒนาภาคการเกษตรของไทยได้อย่างแท้จริงปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนักศึกษาประมาณ 13,500 คน มีการจัดการเรียนการสอน 15 คณะ 3 วิทยาลัย ในทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ (รวมพื้นที่การเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร) โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ, กลุ่มเกษตรศาสตร์ และ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โอกาสนี้ พระราชทานพระโอวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้ “การส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร ในระดับครัวเรือน เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเสถียรภาพทางอาหารของประเทศ เพราะเป็นการเสริมความมั่นคงในระดับฐานรากอย่างแท้จริง ในการนี้ ต้องอาศัยความรู้ในการบริหาร จัดการพื้นที่ ร่วมกับการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบตามศาสตร์พระราชา โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับธรรมชาติ ผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นถิ่น หากบัณฑิตจะได้นำความรู้ที่มีอยู่ ไปปฏิบัติใช้ให้สำเร็จผลดังกล่าวนี้ และสามารถส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติได้อย่างกว้างขวางแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาภาคการเกษตร ทั้งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าและผาสุกมั่นคง ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขออวยพรให้บัณฑิตใหม่ทุกคน และผู้มาร่วมในพิธีนี้ทุกท่าน มีความเจริญสวัสดีทุกเมื่อทั่วกัน”
18 กุมภาพันธ์ 2566     |      278
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2564-2565 (ครั้งที่ 45) วันแรก
วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 12.35 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2564-2565 (ครั้งที่ 45) เป็นวันแรก ซึ่งมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จำนวน 1,286 ราย แยกเป็นระดับบัณฑิตศึกษา(ป.โท - ป.เอก) จำนวน 121 คน พระดุษฎีบัณฑิต จำนวน 1 รูป และระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 1,164 คน มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้ารับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ 5 คน และรับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น 5 คน ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีรากฐานทางการเกษตรที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ มีวิสัยทัศน์เป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ” และพร้อมก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม2 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ของประเทศในการพัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ ด้วยแผนพัฒนาความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ.2566-2570 “พลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การสร้างบัณฑิตผู้ประกอบการเศรษฐกิจสร้างคุณค่า ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ” ได้ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติจำนวนมาก ด้วยปณิธานที่มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน ซึ่งอัตลักษณ์ที่ชัดเจนของบัณฑิตแม่โจ้ คือ “เป็นนักปฏิบัติทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา” เป็นที่ประทับใจและเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ เป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเจอ เป็นนักจิตอาสา เป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคม นอกจากด้านการผลิตบัณฑิตแล้ว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังได้สนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยที่ต่อยอดองค์ความรู้จนเกิดเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับชาติและนานาชาติ สามารถนำไปช่วยเหลือ พัฒนาภาคการเกษตรของไทยได้อย่างแท้จริงในการนี้นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ (แม่โจ้รุ่น 51 ) อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ รับพระราชทาน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ดิจิทัลและการสหกรณ์ พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 รับพระราชทาน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์ นายรุ่งอรุณ การรัตน์ (แม่โจ้รุ่น 59) ประธานกรรมการบริษัท ซิลเวอร์ ฟาร์ม เซ็นเตอร์ จำกัด รับพระราชทาน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ Mrs.Zhu Guiling (นางจู กุ้ยหลิน) Chairman of Guangxi University of Foreign Languages รับพระราชทาน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์ Mrs. Chen-Ming Cho (นาง เฉิน-หมิง จั๋ว) ประธานกรรมการ Toucheng Leisure Farm รับพระราชทาน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวผู้ได้รับพระราชทานโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565 จำนวน 5 คน ได้แก่ นายสุรเดช ปรีชาหาญ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 45 เจ้าของธุรกิจเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรนายเทพนคร เปี่ยมเพ็ชร์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 47 ที่ปรึกษา สำนักวางแผนผลิตภัณฑ์และโครงการพิเศษ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์นางณิชสาคร พรมลี ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54 กรรมการบริหาร บริษัท สยามสตาร์ ซีดส์ จำกัด และบริษัท บ้านนอกคอกนา จำกัดนายสุวัฒน์ มัตราช ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 55 ปศุสัตว์จังหวัด อำนวยการระดับสูง )ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน วิชาการสัตวบาล)) สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ . ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 64 ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โอกาสนี้ พระราชทานพระโอวาท แก่ผู้สำเร็จการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้" ท่านทั้งหลายคงทราบและตระหนักเป็นอย่างดีแล้ว ถึงการเปลี่ยนแปลงผันผวน อย่างรวดเร็วของสถานการณ์โลก โดยเฉพาะวิกฤติการณ์ด้านอาหาร ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหารให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพนับเป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่งในการนี้ การพัฒนาด้านเกษตรกรรม ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ต้องอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องกำกับเพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งอย่างยั่งยืนจึงขอให้บัณฑิตทุกคนนำสิ่งที่พูดนี้ไปพิจารณา เพื่อร่วมกันสร้างเสถียรภาพทางอาหารให้แก่ประเทศของเรา อันจะนำมาซึ่งความผาสุกมั่นคง และความเจริญก้าวหน้า ทั้งแก่ประชาชนและประเทศชาติสืบไป”
18 กุมภาพันธ์ 2566     |      180
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโล่และเข็มที่ระลึกแก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ”
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรง”เปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศดำริ” ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศดำริ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พร้อมเข้ารับพระราชทานโล่ เข็มที่ระลึก และร่วมฉายพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง” ขึ้นในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามศูนย์วิจัยฯ ว่า  “ชนกาธิเบศรดำริ” มีความหมายว่า เป็นศูนย์รวมการวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง สืบสาน รักษา และต่อยอดตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และมูลนิธิโครงการหลวงมุ่งให้ศูนย์วิจัยแห่งนี้ฯ เป็นสถานที่ถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาพื้นที่สูง เกิดประโยชน์แก่ชาวเขาชาวเรา และชาวโลก ตามพระราชปณิธานที่ตั้งไว้ เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดงานโครงการหลวง ให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนแก่พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทยการดำเนินงานภายใต้ศูนย์วิจัยฯ ชนกาธิเบศรดำริ มีความครบวงจรตลอดห่วงโซ่คุณค่า ทั้งการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาพันธุ์พืชและเทคโนโลยีการผลิตพืชปลอดโรค การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช พร้อมบริการตรวจวินิจฉัยโรคและแมลงแก่บุคคลภายนอก การวิจัยและแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า รวมถึงการบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยว มุ่งสู่การเป็นสถานที่เรียนรู้แบบครบวงจร แหล่งฝึกประสบการณ์ของนิสิต นักศึกษา วางแผนพัฒนาระบบการเรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาพื้นที่สูง เพื่อเผยแพร่แนวทางพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หรือโครงการหลวงโมเดล ให้เป็นที่รับรู้ ขยายประโยชน์สู่ประชาชนชาวไทยและประเทศต่าง ๆ สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
13 กุมภาพันธ์ 2566     |      191
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมมูลนิธิโครงการหลวงสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ในวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี  รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  เข้าร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมมูลนิธิโครงการหลวงสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ในโอกาสนี้ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวงให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน  สำหรับการจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้/นวัตกรรมของมูลนิธิโครงการหลวงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สู่เกษตรกร เยาวชนและผู้ที่สนใจ           โดยภายในงานมีกิจกรรมหลายด้าน อาทิ ด้านการพัฒนาพันธุ์พืช เทคโนโลยีการจัดการด้านอาหารพืช การอารักขาพืช เทคโนโลยี SMART FRAMING เทคโนโลยีด้านแปรรูปและเพิ่มมูลค่า การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชุมชนต้นแบบโครงการหลวง และผลงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานสนับสนุน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เข้าร่วมการจัดนิทรรศการให้องค์ความรู้ เรื่อง “การพัฒนากระบวนการแปรรูปพลับหมาด (PRP6505031890X โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย  อัศวราชันย์ เป็นหัวหน้าโครงการ ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
10 กุมภาพันธ์ 2566     |      228
ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 38 มอบต้นไม้แก่มหา่วิทยาลัยแม่โจ้ในครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ “จั๋ดแจ๋งแต่งสวนหื้อแม่”
วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย นายสมชาย เขียวแดง นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ รับมอบต้นไม้จากนายวิโรจน์ ชุมสมุย ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 38 และคณะ ในโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ “จั๋ดแจ๋งแต่งสวนหื้อแม่” โดยโครงการดังกล่าวนั้นเกิดจากความตั้งใจของศิษย์เก่าแม่โจ้ที่อยากพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณศาลเจ้าแม่แม่โจ้ให้สวยงามอย่างต่อเนื่อง และเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการภูมิทัศน์ ตลอดจนเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชหลากชนิด ตามระบบการจัดสวนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ณ บริเวณศาลเจ้าแม่แม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
7 กุมภาพันธ์ 2566     |      126
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับประธานอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการด้านมลพิษและคณะ ในโอกาสติดตามโครงการที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566   ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย และคณะทำงานโครงการ “การเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก”โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ  ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์ธเรศ ศรีสถิตย์ ประธานอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการด้านมลพิษ และคณะในโอกาสตรวจเยี่ยมและติดตามโครงการดังกล่าว ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ณ ศูนย์การเรียนรู้สำหรับวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฟาร์มมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
7 กุมภาพันธ์ 2566     |      234
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดองค์ความรู้การนำชิ้นส่วนต้นกัญชาอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ในงาน “มหกรรมรากกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์”
วันพฤหัสบดีที่ 2  กุมภาพันธ์ 2566   ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีพิธีเปิดงาน “มหกรรมรากกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” โดยมี ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ (กล่าวเปิดงาน) รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้(กล่าวต้อนรับ) พร้อมด้วย ดร.ภก.ปรีชา  หนูทิม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน, ผู้อำนวยการกองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร และเภสัชกร มโนรมภ์ สินธพอาชากุล หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว             ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลได้มีการประกาศให้กัญชาพ้นจากการเป็นยาเสพติด ปรากฏว่ามีประชาชนปลูกกัญชากันเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะนำดอกกัญชาไปใช้มากกว่าส่วนอื่นๆของต้นกัญชา ทั้งที่ส่วนอื่นของกัญชา อาทิ ต้น ใบ และราก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านสุขภาพได้             ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้กล่าวด้วยว่าที่ผ่านมานั้น  ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประสบความสำเร็จในการผลิตกัญชาอินทรีย์ และส่งมอยช่อดอกกัญชาอินทรีย์ ให้กับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข ไปผลิตเป็นยารักษาโรค   นอกจากนี้แล้วศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยังได้นำ ส่วนต่างๆของกัญชา ทั้ง ต้น ใบ และราก มาจำหน่ายให้กับประชาชนที่สนใจเพื่อนำไปใช้ประโยชน์             ดังนั้น เพื่อให้การนำชิ้นส่วนของกัญชา ทั้งต้น ใบ และราก ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทาง ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดงาน งาน “มหกรรมรากกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” เพื่อ เป็นการเปิดองค์ความรู้ การใช้ประโยชน์ของชิ้นส่วนต้นกัญชา โดยได้เชิญ ดร.ภก.ปรีชา หนูทิม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ผู้อำนวยการกองพัฒนา ยาแผนไทยและสมุนไพร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข มาให้ความรู้ในการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และเชิญ เภสัชกร มโนรมภ์ สินธพอาชากุล หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค และเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ มาให้ความรู้เกี่ยวกับการขออนุญาติ ปลูก ผลิต และจำหน่ายชิ้นส่วนกัญชาให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดทั้งนี้ภายในงาน“มหกรรมรากกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์”  ยังมีการสาธิตการนำชิ้นส่วนกัญชามาใช้โดยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาปรุงสูตรรากกัญชาดองน้ำผึ้ง และนายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปรุงสูตรรากกัญชาดองเหล้า พร้อมด้วยการเล่าประสบการณ์จริงจากการใช้รากกัญชาเหล้า และรากกัญชาดองน้ำผึ้ง ที่มีผลต่อสุขภาพด้วย  นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการร้านอาหาร มาทำเมนูอาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชา ให้ผู้ร่วมงานได้ชิมรสชาติ เพื่อให้ผู้ร่วมงานนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ จากชิ้นส่วนกัญชา ตามความเหมาะสมที่กฎหมาย เปิดให้ประชาชนนำไปใช้ได้
7 กุมภาพันธ์ 2566     |      1375
ผู้บริหารบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่นจำกัดเข้ารือความร่วมมือด้านหลักสูตรการศึกษา
วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พาวิน มะโนชัย รองอธิการ , ผู้บริหารคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้บริหารบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่นจำกัด ในการหารือความร่วมมือด้านหลักสูตรผู้จัดการฟาร์มของบริษัทเกษตรอินโนจำกัด , รายงานความคืบหน้าโครงการวิจัยที่สยามคูโบต้าดำเนินโครงการ และสวัสดีปีใหม่ปี 2566 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น5 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
7 กุมภาพันธ์ 2566     |      148
ทั้งหมด 35 หน้า