สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่ 17 มีนาคม 2566  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วย รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้บริหารคณะ ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าฝ่าย สำนักงานมหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการส่วนงาน ร่วมแสดงความยินดีในงานฉลองครบรอบ 51 ปี การก่อตั้ง Vanung University สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ซึ่ง Vanung University เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้มายาวนาน โดยจัดทำโครงการความร่วมมือเพื่อการศึกษาระหว่างประเทศ หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี Educational Cooperation Program (ECP) ร่วมกันเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยนักศึกษาจะศึกษาที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1 ปี และไปศึกษาต่อที่ Vanung University อีก 3 ปี ซึ่งจะได้รับปริญญาตรีจาก Vanung University นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร และได้มีการหารือร่วมกันในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี Dual Degree
ทั้งนี้ คณะผู้บริหารยังได้พบปะกับนักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตร ECP จำนวนประมาณ 60 คน เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการศึกษาและความเป็นอยู่ขณะที่ศึกษาอยู่ที่ Vanung University
************************************
President, Administrators and Directors from the Faculties and the Office of the University, Maejo University Participated in the 51st Anniversary Celebration of Vanung University (VNU), Republic of China (Taiwan).
March 17th, 2023
Associate Professor Dr. Weerapon Thongma, the President, along with Vice President, Assistant to the President, Faculty Administrators, Directors of the Divisions, Heads of the Departments, Office of the University participated in the celebration of the 51st anniversary of the establishment of Vanung University, Republic of China (Taiwan). Vanung University and Maejo University have been close partners for a long time. The two universities established the Educational Cooperation Program (ECP) together for more than 10 years. Under this program, the students will study at Maejo University for 1 year and go on to study at Vanung University for another 3 years, as a result the will receive a bachelor's degree from Vanung University. There are also student and staff exchange activities and currently are working to initiate a bachelor's dual degree program.
The delegation also met with approximately 60 ECP students to inquire about their studies and living conditions while studying at Vanung University.
ปรับปรุงข้อมูล : 21/3/2566 11:38:18     ที่มา : สำนักงานมหาวิทยาลัย     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 415

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ชู ม.แม่โจ้ ปั้นนักศึกษาสู่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ พร้อมดึงงานวิจัย-นวัตกรรมต่อยอดเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ
ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนา อววน. สำนักงานปลัดกระทรวง อว. พร้อมด้วย ศ.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และ รศ.ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์ ผศ.ไชยยันต์ ชนะพรมมา คณะกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง (Reinventing University) ประจำปีงบประมาณ 2567 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ โดยมี รศ.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ พร้อมนำเยี่ยมชมผลการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ณ อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหารรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันเกษตรอัจฉริยะในประเทศไทย มีหลักสูตรด้านวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรม เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ และมีการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง และได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Agriculture) ประกอบกับจุดเด่นในด้านเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ประกอบการและหน่วยงานทุกภาคส่วน มาใช้เป็นกลไกในการดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร พร้อมทั้งสนับสนุนนักศึกษาที่สนใจเป็นผู้ประกอบการให้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สนใจมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงสามารถสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์เพื่อสร้างผลงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นด้าน ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความพร้อมและประสบการณ์ในการพัฒนาผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้นโยบายสู่การเป็น Entrepreneurial University ผ่านกลไกระบบนิเวศในการสนับสนุนผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัย และจากผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขยายผลสู่การสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ MJU Agri smart startup Academy จะเป็นการเสริมสร้างและผลักดันให้มหาวิทยาลัยเกิดผู้ประกอบการใหม่จากฐานนักศึกษา ภายใต้ระบบนิเวศของมหาวิทยาลัยที่มีการเชื่อมโยงและผลักดันผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาการเป็นผู้ประกอบการและการจัดโปรแกรมการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่นักศึกษาอย่างเป็นระบบศ.ศันสนีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้วางรากฐานกลไกและระบบเพื่อผลักดันผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญาจากองค์ความรู้ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมาเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน เพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสร้างผู้ประกอบการใหม่ อีกทั้ง สร้างกำลังคนและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และพัฒนาทักษะของบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต จะเห็นว่า จากการดำเนินการดังกล่าว ในปีนี้ มหาวิทยาลัยได้นำผลงานวิจัยยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จำนวน 13 ผลงาน ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย และกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในวงกว้าง นอกจากนี้ อีกหนึ่งความสำเร็จที่โดดเด่น คือ การผลักดันการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิพันธุ์พืช จำนวน 3 คำขอในสหรัฐอเมริกา ต่อสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา (USPTO) จากผลงานการพัฒนาพันธุ์ดอกปทุมมา และการปรับปรุงพันธุ์ระหว่างปทุมมาและกระเจียวพลอยไพลิน ได้แก่ แม่โจ้กรีนเพิร์ล แม่โจ้ไวท์เพิร์ล และแม่โจ้พิงค์เพิร์ล และได้ร่วมกับสถานประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาไม้ประดับ เพื่อวางแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป“คณะกรรมการฯ เห็นว่า ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การพัฒนาทักษะด้านความเป็นผู้ประกอบการ ควรต้องบูรณาการร่วมกันทั้งระบบ โดยเสริมเข้าไปในหลักสูตรรายวิชาทั่วไป (GenED) รวมถึงควรมีระบบการประเมินและเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะของผู้สอนและนักศึกษา เพื่อเสริมทักษะและทัศนคติในการเป็นผู้ประกอบการ และสุดท้ายควรเชื่อมโยงหลักสูตรเข้าสู่ระบบคลังหน่วยกิต (credit bank) เพื่อสะสมหน่วยกิตและผลการศึกษา ตามนโยบายกระทรวง อว. รวมถึง ควรประเมินความคุ้มค่า ผลกระทบ และความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้น” ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวที่มา : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
3 เมษายน 2568     |      116
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567
วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 นางตรีรัตน์ มาร์คว๊าร์คเสน หัวหน้างานประสานงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนเข้าร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมีนายวันนี นนท์ศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานและ นายฮิโรยาสุ ซาโต้ รองประธานและประธานส่วนการศึกษา คณะกรรมการฝ่ายความช่วยเหลือสังคม ของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เป็นผู้มอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567 ในการนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับทุนจำนวน 3ทุน ระดับปริญญาตรี จำนวน2ทุน ปริญญาโทจำนวน1 ทุน ซึ่งเป็นทุนการศึกษาแบบให้เปล่าและไม่มีข้อผูกพันใด ๆ ที่จัดสรรให้แก่นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ที่ศึกษาอยู่ในคณะหรือสาขาวิชาต่าง ๆ ทุกสาขาวิชา และเฉพาะสาขาวิชาทางด้านสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ ม.แม่โจ้ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ม.สงขลานครินทร์ และ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงใหม่ โดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ได้จัดสรรเงินทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวนทุนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา เป็นระยะเวลา 4 ปีการศึกษา และจัดสรรเงินทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวนทุนละ 50,000 บาทต่อปีการศึกษา เป็นระยะเวลา 2 ปีการศึกษา และต่อมาในปีการศึกษา 2567 ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาเพิ่มเติมจากเดิม โดยจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีที่ศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (วิทยาเขตบางพระ) ม.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ศูนย์นนทบุรี) ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ศูนย์เทคนิคกรุงเทพฯ) และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เพื่อเป็นทุนการศึกษาตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร ปีการศึกษาละ 25 ทุน จำนวนทุนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา รวมทุนการศึกษาที่หอการค้าญี่ปุ่น–กรุงเทพฯ จัดสรรให้แก่นิสิต นักศึกษา จำนวนปีการศึกษาละ 50 ทุน ณ ห้องบอลรูม โรงแรมแบรนด์ กรุงเทพฯ
3 เมษายน 2568     |      113
Professor Dr. Vincent R.C. Shih ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ National Pingtung University of Science and Technology สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และ Ms. Yi-Han Hsueh เลขานุการโท ฝ่ายการศึกษา สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เยือนมหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วยคณบดี และรองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติให้การต้อนรับ Professor Dr. Vincent R.C. Shih ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ National Pingtung University of Science and Technology สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และ Ms. Yi-Han Hsueh เลขานุการโท ฝ่ายการศึกษา สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ในโอกาสที่มาเยือนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการหารือความมือทางวิชาการระหว่างสองมหาวิทยาลัย
7 มีนาคม 2568     |      87